วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์



เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์





โลกเราในปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งก็คือสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล และข่าวสาร และเป็นยุคที่เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความทันสมัย ก้าวหน้าสามารถเชื่อมต่อโลกทั้งโลกได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านเวลา
และระยะทาง
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การทำธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา หรือแม้กระทั่งความบันเทิงต่างๆ สังเกตได้จากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวเราส่วนใหญ่จะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
ในปี 2004 นิตยสาร Business Week ได้ทำการจัดอันดับ 15 สุดยอดแบรนด์ของโลก บริษัทที่ติดอันดับต้นๆ เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าและให้บริการด้านเทคโนโลยีถึง 6 อันดับ ได้แก่ Microsoft, IBM, General Electric, Intel, Nokia และ Hewlett Packard บริษัทเหล่านี้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านั้นด้วย ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Internet, Search Engine, Wireless technology, Multimedia, Broadband, Telecommunications,
Bio Technology ต่างๆ เหล่านี้ได้ปฏิวัติชีวิตและแบบแผนดั้งเดิมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเราจนหมดสิ้น มีสถิติบันทึกไว้ว่านับตั้งแต่ Internet เป็นที่รู้จักของชาวโลกแค่เพียง 4 ปี ก็มีผู้เข้าใช้งาน Internet มากถึง 50 ล้านคนทั่วโลก
เทคโนโลยีนำเราสู่โลกใหม่และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้มนุษย์อย่างมากมายมหาศาล เช่น ในด้านการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ของมนุษย์ขยายขอบเขตไป อย่างมาก เราสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกผ่านสื่อ e-learning แบบ WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ โดยมีผลสำรวจของสำนักวิจัย International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าในทวีปยุโรปความต้องการในการเรียนรู้ผ่าน e-learning จะขยายตัวเป็นสองเท่าในปี 2005 และจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงขึ้น 30% ทุกปีจนถึงปี 2008
ในด้านธุรกิจเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ (Information & Communication Technology หรือ ICT) นับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ จะมีบทบาทหลักในการช่วยจัดเก็บข้อมูล ช่วยในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการสื่อสาร ผ่านทางระบบ Internet, Intranet และ Groupware (โปรแกรมที่ให้บริการ share ข้อมูลร่วมกันระหว่างกลุ่มคน service ที่ให้บริการ เช่น share calendars, email, share database, electronics meeting เป็นต้น)
ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ กว่า 2,000 องค์กรทั่วโลก ต่างก็พยายามเชื่อมต่อเทคโนโลยีและพัฒนาการจัดการข้อมูลสารสนเทศให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบที่เรียกว่า EAI (Enterprise Application Integration) ซึ่งในทางธุรกิจ EAI ช่วยให้องค์กรสามารถคิดค้นโซลูชั่นใหม่ๆ ทางธุรกิจ, สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบซัพพลายเชน, ช่วยปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร, ลดเวลาและลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มผลผลิต, ช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ นอกจากนั้นเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-commerce) ยังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมอีกด้วย
e-commerce สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม e-commerce ใช้งบประมาณในการลงทุนต่ำกว่า, สามารถดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศออสเตรเลีย e-commerce มีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีการคาดการณ์จากภาครัฐว่า ในปี 2007 ธุรกิจ e-commerce จะช่วยให้ GDP ของประเทศจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 2.7%
ในด้านการวิจัยพัฒนาและการแพทย์ การพัฒนาของเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Technology) เปิดโลกทัศน์ใหม่เกี่ยวกับพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering), Genome, DNA, Nano Technology เพื่อช่วยการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ด้านเกษตรกรรมและดานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ สามารถช่วยให้เราพัฒนาวิธีและยารักษาโรคใหม่ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิจัยชื่อ James Baker ได้ทำการทดลองคิดค้นพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งวิธีใหม่โดยใช้เทคโนโลยี Nanomedicine ซึ่งก็คือการพัฒนาโมเลกุลของยาให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายได้โดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีรักษาที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธีการรักษา โดยใช้เคมีบำบัดในปัจจุบันและเทคโนโลยี Nanomedicine นี้ยังสามารถพัฒนาเพื่อรักษาโรคอื่นๆ ได้ต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งญี่ปุ่นมองว่าเรื่องนี้จะเป็นกลยุทธในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้ใช้งบประมาณในการค้นคว้าวิจัยในด้านนี้สูงถึง 2 ล้านล้านเยน และจะเพิ่มงบประมาณในการค้นคว้าวิจัยให้สูงขึ้นถึง 25 ล้านล้านเยนภายในปี 2010
การมองเห็นโอกาสความร่วมมือหรือความสามารถต่างๆ และมองเห็นช่องทางในการก่อประโยชน์ให้กับองค์กร เป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย ได้มีการร่วมมือด้านการถ่ายโอนความรู้ด้านการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยกันหาแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจโลกใน ยุคโลกาภิวัฒน์ ส่วนในด้านธุรกิจ บริษัท Rolls-Royce ก็ได้มีโครงการรวมมือกันกับกลุ่มบริษัทในประเทศสิงคโปร์เพื่อศึกษาค้นคว้า เรื่องระบบพลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์และโครงการนี้ก็ประสบความสำเร็จได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
การคาดเดาอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ถ้าเรามีการเรียนรู้และมีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของเราเอง สิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ย่อมเป็นไปได้เสมอ ดังคำกล่าวของ Mr. Alan Kay หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีของบริษัท Xerox PARC ที่ได้กล่าวไว้ว่า “หนทางที่ดีที่สุดในการกำหนดอนาคตคือเราจะต้องสร้างมันขึ้นมาเอง”
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดนที่เน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบัน แต่ในอนาคต รัฐบาลควรน่าที่จะกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทั่วประเทศ โดยวางเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศไปตามตำบล หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมอร์ซ (E-Commerce) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) ด้านการแข่งขันธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศ หลังเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก เมื่อปี 2540 และการปฏิรูปทางการเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในยุคประชาธิปไตยเต็มใบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคนไทย มีส่วนร่วมในการจัดทำมากที่สุด และถือว่าเป็น "นวัตกรรมทางการเมือง" ที่ส่งผลให้ภาครัฐได้สร้างนวัตกรรมโทรคมนาคม นั่นคือ มาตรา 40 และมาตรา 335(2) เพื่อปลดแอกระบบการผูกขาด (Monopoly) และเปิดเสรีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม รัฐบาลควรจะวางแผนระยะยาวในการวางเป้าหมาย โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาบริหารพัฒนาระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมใช้ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งในประเทศและภาคพื้นเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม อาทิเช่น ระบบมือถือ ทั้งระบบ 800 900 1800 1900 และอย่างกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ใช้ระบบมือถือ 800 ระบบเดียวกันทั่วประเทศ บริษัทเอกชนที่ผลิตก็สามารถอยู่ได้ เพราะลงทุนครั้งเดียวแต่คุ้มการลงทุน ผลิตเชิงปริมาณแต่จำหน่ายได้ทั้งประเทศ เมื่อคุ้มทุนก็สามารถพัฒนาสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชน เพราะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง เ นื่องจากผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้ทั่วภาคพื้น การใช้เทคโนโลยีระบบเดียวกันในอนาคต ก็จะเป็นการเอื้ออำนวยต่อการสื่อสารและโทรคมนาคมในภาคพื้นเดียวกัน สำหรับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการผ่องถ่ายข้อมูลข่าวสาร และสร้างความยั่งยืนต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายในการสื่อสารด้วยระบบเดียวกันทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างกว้างไกลและยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลควรจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการริเริ่มการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างจริงจังในอนาคต ผลดีที่ตามมา คือ ช่วยให้ประเทศประหยัดเงินที่จะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศ และต้องจ่ายค่าความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ให้ต่างชาติ เช่น ค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค่าเครื่องหมายการค้า คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 20,000 ล้านบาทต่อปี หากเทียบสัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยอยู่ระดับต่ำมาก คิดเป็นอัตราส่วน นักวิจัย 2 คนต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับมาเลเซียที่มีจำนวนนักวิจัย 6 คน ต่อประชากร 10,000 คน เกาหลีใต้อัตราส่วน 27 คนต่อประชากร 10,000 คน สิงคโปร์ 34 คน ต่อประชากร 10,000 คน และไต้หวัน 55 คนต่อประชากร 10,000 คน เมื่อเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศแล้ว สัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ดังนั้น ควรสนับสนุนให้มีนักวิจัยเพิ่มและเน้นพัฒนาการวิจัยระบบโครงข่าย โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อมาถ่ายทอดและนำเสนอต่อสังคม เป้าหมายในระยะสั้น ก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางสื่อสารและโทรคมนาคม ที่เป็นดาวรุ่งของแต่ละประเภท ในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 0.5 เพิ่มจากสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ในแต่ละปี เทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยดังกล่าวของมาเลเซีย ร้อยละ 0.8 สิงคโปร์ สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 1 ไต้หวัน ร้อยละ 1.4 และเกาหลีใต้ร้อยละ 2 ส่วนประเทศอุตสาหกรรม สัดส่วนการใช้จ่ายประมาณร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป้าหมายในอนาคตก็ควรวางเป้าหมายการผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในประเทศ ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนเพิ่มร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ที่ซื้อจากต่างประเทศ และทิศทางอนาคตวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควรใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม ในอนาคต 5 -10 ปีข้างหน้า รัฐบาลควรร่วมมือกับภาคเอกชนวางแผนกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมทั่วประเทศเพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) โดยมีการขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในปี 2543 ยอดขายด้านอี-คอมเมิร์ซจะสูงขึ้น ประมาณ 50,920 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้าอี-คอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น ประมาณ 40 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ทิศทางอนาคตเทคโนโลยีไร้สายมาแรงมาก อาทิเช่น ระบบแว็ป หรือ Wireless Application Protocal (WAP) ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนแบบเดิมที่ติดต่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาติดตัว ซึ่งระบบนี้จะเพิ่มบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค และการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต่อไปประเทศจะเปิดเสรีโทรคมนาคม แนวโน้มราคาของโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรเป็นราคาที่เหมาะสม ทั้งคนรวยและคนจน สามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ระบบที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างโทรคมพื้นฐาน (Basic Telecom) จะประกอบด้วย สื่อสัญญาน เช่น สื่อสัญญาณสายใยแก้ว สื่อสัญญาณไมโครเวฟ สื่อสัญญาณดาวเทียม และ สื่อสัญญาณไร้สาย เป็นต้น ดังนั้น ระบบของการสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะผสมผสานกันทั้ง ไร้สาย (Wirless) มีสาย (Wire) อาทิ เคเบิลใยแก้ว (Optical Cable) และดาวเทียม (Satlellite) เนื่องจากปัจจัยในการใช้ของแต่ละประเภทมีข้อจำกัด ดังนั้น เทคโนโลยีแต่ละประเภทจึงต้องเหมาะสมกับภูมิประเทศและความต้องการของผู้บริโภคด้วย การสื่อสารในอนาคต สื่อสารข้อมูลจะพลิกโฉมเป็น สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) มากขึ้น จะมีการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตจะช่วยมาพัฒนาให้สื่อกลายเป็นสื่อครบวงจร ที่มีทั้งข้อมูลข่าวสาร ภาพ และเสียง สามารถติดต่อกันข้ามประเทศ โดยสะดวกรวดเร็ว แนวโน้มการใช้คลื่นความถี่ ต้องมีการจัดสรรอย่างมีรูปแบบ อาทิ เสาอากาศควรกำหนดว่าครอบคลุมจังหวัดไหนบ้าง เพื่อง่ายต่อการควบคุมระบบ เทคโนโลยีในระยะยาว จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีการวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาทิ เน้นการฝึกอบรมหรือเทรนนิ่งด้านเครือข่าย โปรแกรม อุปกรณ์ ชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เป็นต้น

การท่องโลกอินเทอร์เน็ต



ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ท่องโลกอินเตอร์เน็ตอย่างมืออาชีพ
Surf Net การท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรม Web Browser (ที่คุณกำลังเล่นอยู่ในขณะนี้) ปัจจุบันถือว่าโปรแกรมที่นิยมมากที่สุดในโลกคงหนีไม่ พ้น Microsoft Internet Explorer (IE) , Netscape และ Opera นอกเหนือจากนี้ก็มีผู้ใช้บ้างเล็กน้อย ส่วนเรื่องการใช้งานก็ไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ถ้าท่านเป็นมือใหม่ หรือต้องการท่องโลก internet อย่างมืออาชีพ ลองมาเรียนรู้จากที่นี่ได้เลยครับ (แนะนำการใช้ Internet Explorer v.5 ขึ้นไป เป็นหลัก) พร้อมแล้ว
การใช้งานพื้นฐานทั่ว ๆ ไป
เริ่มไปเวปไซท์แรกสิ่งที่ควรทราบเป็นอันดับแรก ช่อง Address เป็นช่องสำหรับใส่ที่อยู่ของเว็ป (URL) ที่อยู่เว็ปส่วนใหญ่ประกอบส่วนต่าง ๆ ดังนี้ เริ่มต้นด้วย htt:// ตามด้วยชื่อเวป ระวังเครื่องตัวอักษรตัวเล็กใหญ่ และเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วย (ปัจจุบันโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ ๆ เราไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า http:// แล้ว โปรแกรมจะใส่ให้อัตโนมัติ) เปิดปุ๊ป เจอปั๊ป (Home Page)คุณสามารถกำหนดให้เว็ปที่คุณถูกใจมากที่สุดเป็นเว็ปท ี่เปิดโปรแกรม browser ก็เข้าไปที่เว็ปนี้ โดยคลิกเมนู Tools เลือก Internet options คลิก Use current (กรณีที่คุณกำลัง surf เว็ปที่คุณชอบอยู่) ลิงค์ไปหน้าต่อไป (Link)ปกติแล้วถ้าท่านเลื่อนเม้าไปบริเวณต่างๆ ในเวป เช่นในส่วนรูปภาพ หรือข้อความอื่น ๆ แล้ว ไอคอนของเม้าส์เปลี่ยนเป็น รูปมือ แสดงว่าสามารถกด และลิงค์ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้ ดูหน้าเว็ปแบบ update (Refresh) การดูเว็ปบางครั้งอาจเกิดปัญหาระหว่างการ load ภาพและข้อมูล หรือเป็นเพราะคุณเคยเข้าไปเว็ปนั้นแล้ว การดูในครั้งต่อไปโปรแกรม browser อาจโหลดจาก temp file ที่อยู่ในเครื่องของท่าน ดังนั้นเพื่อการดูเว็ปแบบ update ท่านควรกดปุ่ม Refresh หรือคลิกขวาเลือก Refresh (กดปุ่ม F5) แค่นี้ท่านก็จะได้ดูข้อมูลแบบ update ตลอดเวลา เก็บที่อยู่เว็ปนี้ไว้ดูครั้งต่อไป (Add to Favorites) หลังจากที่คุณไปเว็ปไหนแล้วเกิดถูกใจ คุณสามารถเก็บที่อยู่ของเว็ปนั้น เพื่อสะดวกในการในการเข้าไปดูในครั้งต่อไป เพียงคลิกเมนู Favorites เลือก Add to Favorites หรือจะ คลิกขวาเลือก Add to Favorites ก็ได้ (ถ้าเป็น Netscape จะเรียกว่า Bookmarks) ส่วนการเลือกใช้ให้เข้าไปเมนู Favorites และเลือกเว็ป ที่อยู่ภายใต้เมนูนี้ เดินหน้า ถอยหลัง (Forward & Back) หลังจากที่คุณมีการกดลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ แล้ว ถ้าต้องการถอยกลับมา ท่านสามารถกดปุ่มที่มีคำว่า Back (ถอยหลัง) หรือกด Forward (เพื่อกลับไปยังหน้าที่เรามีการถอยหลังก่อนหน้านี้ได ้) หรือกด คลิกขวาของเม้าส์ แล้วเลือกคำสั่ง Back & Forward ได้ด้วยเช่นกัน download รูปภาพ รูปภาพที่คุณเห็นในเว็ป สามารถแบ่งออกได้หลายอย่างเช่น ภาพทั่วไป ภาพเคลื่อนไหว ภาพฉากหลัง (background) ปกติเราสามารถนำภาพที่เราเห็นบนเว็ปเก็บไว้ดูได้ง่าย ๆ เพียงวางเม้าส์บริเวณรูปภาพ คลิกขวาของเม้าส์เลือก Save Picture As (ภาพฉากหลังจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้) download เว็ปทั้งหน้า เวปหน้าไหนที่ท่านต้องการเก็บไว้ดูแบบ offline (ไม่ต้อง online ตลอดเวลา เพื่อประหยัดเงิน) ท่านก็สามารถ Save เก็บไว้ได้ด้วย โดยการคลิกคำสั่ง File เลือก Save As (บางเว็ปอาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้) มือใหม่ในการเล่นเวป ปัญหาของการเล่นเว็ปอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ทราบที่อยู่ (URL) ของเว็ปนั้น ๆ แล้วจะเข้าไปได้อย่างไร ไม่อยากครับ เพียงท่านใช้ Search Engine ใช้ในการค้นหา เพียงแค่พิมพ์คำที่ต้องการ เช่น ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ สุนัข
ให้พิมพ์คำว่า dog เป็นต้น
ความปลอดภัยในการใช้ internet ที่ควรทราบ

Auto Complete
หลาย ๆ ท่านที่ใช้ internet ในร้านค้าทั่วไป หรือใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันผู้อื่น เคยทราบไหมว่า ทำไมบ้างครั้ง เวลากรอกแบบฟอร์มในบางเวป ถึงมีความข้อความขึ้นมาใหัอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องกรอกจนเสร็จ นั่นเป็นเพราะว่าโปรแกรม I.E. มีการเก็บข้อมูลที่คุณเคยกรอกไว้ โดยมีฟังก์ชั่น ที่ช่วยในการกรอกข้อมูล นั่นคือ Autocomplete แล้วลองคิดดู ถ้ามีบุคคลอื่น นำข้อมูลของคุณไปใช้ คุณจะคิดอย่างไร ? ไม่ยากครับ เรามีวิธีแก้ไขให้ดังนี้
คลิกไปที่เมนู Tools
เลือก Internet Options
คลิกแท็ปเลือก Contents
คลิกเลือกปุ่ม AutoComplete
คลิก ยกเลิกออปชั่น Forms
Clear History
เวลาท่องเวปแล้ว ไม่อยากให้ใครทราบว่า เราเคยไปเวปไซท์ ไหน ๆ มาบ้าง ยิ่งบางเวปอาจไม่เหมาะที่จะให้เด็ก ๆ หรือเจ้านายของคุณได้รับรู้ จะทำอย่างไรดี ไม่ยากครับ เรามีวิธีมาบอก
คลิกไปที่เมนู Tools
เลือก Internet Options
คลิกแท็ปเลือก General
คลิกปุ่ม Clear History
Cookies
ไม่ใช่ขนมน่ะCookies เป็น Text file เล็กๆที่เว็ปเซิร์ฟเวอร์ส่งมายังเครื่องคอมฯของคุณ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในรูปของไฟล์ เพื่อจดจำรหัสผ่าน รายละเอียดการเข้าไปใช้งานในเวปนั้น ๆ ซึ่งจุดนี้เอง ทำให้เจ้าของเวป หรือพวกแฮกเกอร์ สามารถเข้าไป ตรวจสอบ แก้ไข หรือทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ เรามีทางแก้ไขครับ
เข้าไปโปรแกรม Windows Explorer
เข้าไป folder C:\winodws\cookies ลบ files ทั้งหมดที่อยู่ใน folder นี้
เข้าไป folder C:\winodws\Temporary Internet Files ลบ files ทั้งหมดที่อยู่ใน folder นี้
อาจะใช้โปรแกรม Disk Clean up ซึ่งอยู่ในเมนู Accessories ช่วยก็ได้
Security Level
การกำหนดระดับความรักษาความปลอดภัย ในระดับต่างๆ ง่าย ๆ ครับ เพียงแค่คลิกเลือกระดับที่ต้องการ High, Meduium, Medium-Low, และ Low ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีคำอธิบายไว้ให้ และถ้าท่านเป็นผู้ชำนาญในการใช้ internet อาจเลือกหัวข้อ Custom เพื่อกำหนดรายละเอียดย่อย ๆ ด้วยตนเองได้อีกด้วย
คลิกไปที่เมนู Tools
เลือก Internet Options
คลิกแท็ปเลือก Security
คลิกแท็ปเลือก Default Level
ปรับระดับความรักษาปลอดภัยตามต้องการ

Microsoft Access สร้างฐานข้อมูล

การสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวคุณเอง


เราสามารถสร้างฐานข้อมูลของเราเองได้โดยก่อนอื่นเราต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างฐานข้อมูล นั้นก็คือที่ๆเราจะทำการเก็บข้อมูลเราไว้นั้นเอง โดยการใช้เมนูคำสั่ง ให้เลือกเมนูคำสั่ง แฟ้ม/สร้าง


จะปรากฎไดอะล็อกซ์สร้างให้เลือกแท็บ สร้างแล้วคลิกไอคอนฐานข้อมูลเปล่า

หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการสร้างฐานข้อมูลเปล่าให้เราให้เราทำการเลือกที่ๆเราต้องการบันทึกฐานข้อมูลของเรา และกำหนดชื่อแฟ้ม หลังจากนั้นคลิกสร้าง


หลังจากที่เราได้สร้างฐานข้อมูลเปล่าแล้วโปรแกรมก็จะปรากฎไดอะล๊อกบร็อกซ์ที่ให้เราออกแบบส่วนประกอบต่างๆในฐานข้อมูลของเรา เช่นตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม โดยที่เราจะใช้ตัวช่วยสร้าง หรือออกแบบเองก็ได้ ซึ่งจะกล่าวถึังในบทอื่นต่อไป





บานหน้าต่าง "การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access"

เมื่อคุณเริ่มต้น Access เป็นครั้งแรก หรือถ้าคุณปิดฐานข้อมูลโดยไม่ปิด Access บานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access จะยังถูกแสดงอยู่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลใหม่ เปิดฐานข้อมูลที่มีอยู่ หรือดูเนื้อหาพิเศษจาก Microsoft Office Online ได้
คุณต้องการทำสิ่งใด
สร้างฐานข้อมูลโดยใช้แม่แบบ
สร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น
คัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access
นำเข้า ผนวก หรือเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งอื่น
เปิดฐานข้อมูล Access ที่มีอยู่แล้ว
สร้างแม่แบบเปล่าที่กำหนดเอง

การสร้างฐานข้อมูลโดยใช้แม่แบบ
Access มีแม่แบบที่หลากหลายให้คุณใช้เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วให้กับขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูล แม่แบบคือฐานข้อมูลที่พร้อมใช้งานซึ่งมีตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม และรายงานต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานเฉพาะอย่าง ตัวอย่างเช่น มีแม่แบบที่สามารถใช้ติดตามปัญหา จัดการที่ติดต่อ หรือเก็บบันทึกการใช้จ่าย แม่แบบบางตัวมีตัวอย่างระเบียนเพื่อช่วยสาธิตวิธีใช้งาน ฐานข้อมูลแม่แบบสามารถนำไปใช้งานได้เลย หรือคุณสามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
ถ้าหนึ่งในบรรดาแม่แบบเหล่านี้ตรงกับที่คุณต้องการ การใช้แม่แบบนั้นจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะเริ่มต้นใช้ฐานข้อมูล อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีข้อมูลในโปรแกรมอื่นที่คุณต้องการนำเข้ามายัง Access คุณอาจตัดสินใจว่าการสร้างฐานข้อมูลใหม่จากตั้งแต่ต้นนั้นดีกว่า แม่แบบจะมีโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้แล้ว และอาจจำเป็นต้องดัดแปลงข้อมูลที่มีอยู่ของคุณให้เข้ากับโครงสร้างของแม่แบบ
ถ้าคุณมีฐานข้อมูลเปิดอยู่ ให้คลิก ปิดฐานข้อมูล บนเมนู แฟ้ม เพื่อแสดงบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access
แม่แบบหลายตัวจะปรากฏภายใต้ แม่แบบออนไลน์พิเศษ ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access และมีให้ใช้ได้มากขึ้นถ้าคุณคลิกการเชื่อมโยงในบานหน้าต่าง ประเภทแม่แบบ คุณสามารถดาวน์โหลดแม่แบบเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Office Online ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนถัดไปของ
บทความนี้ คลิกที่แม่แบบที่คุณต้องการใช้ Access จะเสนอแนะชื่อแฟ้มสำหรับฐานข้อมูลของคุณในกล่อง ชื่อแฟ้ม คุณสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อแฟ้มได้ถ้าต้องการ เมื่อต้องการบันทึกฐานข้อมูลในโฟลเดอร์อื่นนอกเหนือจากที่แสดงใต้กล่องชื่อแฟ้ม ให้คลิก แล้วเรียกดูโฟลเดอร์ที่คุณต้องการบันทึก จากนั้นคลิก ตกลง คุณอาจสร้างแล้วเชื่อมโยงฐานข้อมูลของคุณไปยังไซต์ Windows SharePoint Services 3.0 ด้วยหรือไม่ก็ได้
คลิก สร้าง (หรือคลิก ดาวน์โหลด สำหรับแม่แบบ Office Online) Access จะสร้างหรือดาวน์โหลดฐานข้อมูลแล้วจึงเปิด ฟอร์มจะปรากฏให้คุณสามารถเริ่มป้อนข้อมูลได้ ถ้าแม่แบบของคุณมีข้อมูลตัวอย่าง คุณสามารถลบแต่ละระเบียนได้โดยคลิกที่ตัวเลือกระเบียน (กล่องหรือแถบสีเทาทางซ้ายของระเบียน) จากนั้นทำดังนี้
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ระเบียน ให้คลิก ลบ
เมื่อต้องการเริ่มต้นป้อนข้อมูล ให้คลิกที่เซลล์ว่างเซลล์แรกบนฟอร์มแล้วเริ่มพิมพ์ ใช้ 'บานหน้าต่างนำทาง' เพื่อเรียกดูฟอร์มหรือรายงานอื่นที่คุณอาจต้องการใช้
การดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office Online
ถ้าคุณไม่พบแม่แบบที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access และคุณได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ คุณสามารถค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Office Online
ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access ภายใต้ ข้อมูลเพิ่มเติมบน Office Online ให้คลิก แม่แบบ
หมายเหตุ หน้าแรกของแม่แบบบน Office Online จะปรากฏในหน้าต่างเบราว์เซอร์
ใช้เครื่องมือนำทางและค้นหา Office Online เพื่อหาแม่แบบ Access ที่คุณต้องการใช้แล้วทำตามคำสั่งเพื่อดาวน์โหลด ฐานข้อมูลจะถูกดาวน์โหลดลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นเปิดในอินสแตนซ์ใหม่ของ Access ในกรณีส่วนใหญ่แม่แบบจะถูกออกแบบมาเพื่อเปิดฟอร์มป้อนข้อมูลเพื่อที่คุณจะได้เริ่มป้อนข้อมูลได้ทันที
ด้านบนของหน้า
การสร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น
ถ้าคุณไม่สนใจใช้แม่แบบ คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น ในกรณีส่วนใหญ่ การทำเช่นนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือทั้งสองสิ่งต่อไปนี้
การป้อน การวาง หรือการนำเข้าข้อมูลลงในตารางที่ถูกสร้างเมื่อคุณเริ่มต้นฐานข้อมูลใหม่ จากนั้นทำซ้ำกระบวนการนี้กับตารางใหม่ที่คุณสร้างด้วยการใช้คำสั่ง แทรกตาราง
การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอื่นและการสร้างตารางใหม่ในกระบวนการ
เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนและออกแบบฐานข้อมูล หรือการสร้างความสัมพันธ์ ฟอร์ม รายงาน หรือแบบสอบถาม ให้ตามการเชื่อมโยงในส่วน ดูเพิ่มเติม ของบทความนี้
สร้างฐานข้อมูลเปล่า
ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access ภายใต้ สร้างฐานข้อมูลเปล่า ให้คลิก ฐานข้อมูลเปล่า
ในบานหน้าต่าง ฐานข้อมูลเปล่า ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มในกล่อง ชื่อแฟ้ม ถ้าคุณไม่ใส่นามสกุลให้ชื่อแฟ้ม Access จะเติมให้คุณ เมื่อต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของแฟ้มนอกเหนือไปจากค่าเริ่มต้น ให้คลิก เปิด (ถัดจากกล่อง ชื่อแฟ้ม) เรียกดูตำแหน่งใหม่ จากนั้นคลิก ตกลง
คลิก สร้าง
Access จะสร้างฐานข้อมูลโดยมีตารางเปล่าชื่อ Table1 จากนั้นเปิด Table1 ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' จุดแทรกจะวางบนเซลล์แรกที่ว่างในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่
เริ่มต้นพิมพ์เพื่อเพิ่มข้อมูล หรือวางข้อมูลจากแหล่งอื่น ดังที่อธิบายในส่วน
การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access ซึ่งจะอธิบายต่อไปในบทความนี้
การป้อนข้อมูลในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' นั้นถูกออกแบบมาให้คล้ายกับการทำงานในแผ่นงาน Microsoft Office Excel 2007 โครงสร้างตารางจะถูกสร้างขณะที่คุณป้อนข้อมูล เมื่อใดก็ตามที่คุณเพิ่มคอลัมน์ใหม่ในตาราง เขตข้อมูลใหม่จะถูกกำหนดขึ้น Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลแต่ละตัวโดยอัตโนมัติจากข้อมูลที่คุณป้อน
ถ้าคุณไม่ต้องการป้อนข้อมูลใน Table1 ขณะนี้ ให้คลิก ปิด Access จะถามคุณให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงลงในตาราง คลิก ใช่ เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณ คลิก ไม่ใช่ เพื่อละทิ้งการบันทึก หรือคลิก ยกเลิก เพื่อปล่อยให้ตารางเปิดไว้
สิ่งสำคัญ ถ้าคุณปิด Table1 โดยไม่บันทึกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง Access จะลบทั้งตารางแม้ว่าคุณจะได้ป้อนข้อมูลลงไปแล้ว
เพิ่มตาราง
คุณสามารถเพิ่มตารางใหม่ในฐานข้อมูลที่มีอยู่ด้วยการใช้คำสั่ง แทรกตาราง คุณสามารถใช้มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อเริ่มป้อนข้อมูลทันที (Access จะสร้างโครงสร้างตารางให้คุณขณะที่ป้อน) หรือคุณสามารถใช้มุมมองออกแบบเพื่อสร้างโครงสร้างตารางก่อนแล้วค่อยสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อป้อนข้อมูล ไม่ว่าคุณจะเริ่มในมุมมองไหน คุณสามารถสลับไปที่มุมมองอื่นได้โดยใช้ปุ่มบนแถบสถานะของ Access
แทรกตาราง โดยเริ่มต้นในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' คุณสามารถป้อนข้อมูลได้ทันทีแล้วให้ Access สร้างโครงสร้างตารางให้เบื้องหลัง ชื่อเขตข้อมูลจะถูกกำหนดเป็นตัวเลข (Field1, Field2 และอื่นๆ) และ Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลตามชนิดของข้อมูลที่คุณป้อน
บนแท็บสร้าง ในกลุ่มตาราง คลิก ตาราง
Access จะสร้างตารางและวางจุดแทรกไว้ในเซลล์แรกที่ว่างในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่
หมายเหตุ ถ้าคุณไม่เห็นคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ คุณอาจอยู่ในมุมมอง 'ออกแบบ' แทนที่จะเป็นมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เมื่อต้องการสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' ให้คลิกปุ่ม มุมมองแผ่นข้อมูล ในมุมล่างขวาของหน้าต่าง Access โปรแกรม Access จะพร้อมท์ให้คุณบันทึกตารางใหม่ แล้วจากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล'
บนแท็บ แผ่นข้อมูล ในกลุ่ม เขตข้อมูลและคอลัมน์ ให้คลิก เขตข้อมูลใหม่
Access จะแสดงบานหน้าต่าง แม่แบบเขตข้อมูล ซึ่งมีรายการชนิดเขตข้อมูลที่ใช้ตามปกติ ถ้าคุณลากรายการตัวหนึ่งมาใส่ในแผ่นข้อมูล Access จะเพิ่มเขตข้อมูลเป็นชื่อนั้นแล้วตั้งค่าคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับชนิดของเขตข้อมูลนั้น คุณสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติได้ภายหลังถ้าต้องการ คุณต้องลากเขตข้อมูลมาใส่ในพื้นที่ของแผ่นข้อมูลที่มีข้อมูล แถบแนวตั้งจะปรากฏเพื่อแสดงตำแหน่งเขตข้อมูลที่จะวางให้คุณเห็น
เมื่อต้องการเพิ่มข้อมูล ให้เริ่มพิมพ์ในเซลล์แรกที่ว่าง หรือวางข้อมูลจากแหล่งอื่น ดังที่อธิบายไว้ในส่วน
การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นมายังตาราง Access ซึ่งจะปรากฏต่อไปในบทความนี้
เมื่อต้องการเปลี่ยนชื่อคอลัมน์ (เขตข้อมูล) ให้คลิกสองครั้งที่ส่วนหัวคอลัมน์ จากนั้นพิมพ์ชื่อคอลัมน์ใหม่
เป็นวิธีที่ดีที่จะใช้ชื่อที่มีความหมายสำหรับแต่ละเขตข้อมูล เพื่อที่คุณจะสามารถบอกได้ว่าเขตข้อมูลนั้นมีอะไรเมื่อคุณดูใน รายการเขตข้อมูล
เมื่อต้องการย้ายคอลัมน์ ให้คลิกที่ส่วนหัวคอลัมน์เพื่อเลือกคอลัมน์ จากนั้นลากคอลัมน์ไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการ
คุณสามารถเลือกได้หลายคอลัมน์ที่ต่อเนื่องกันแล้วลากคอลัมน์เหล่านั้นไปตำแหน่งใหม่ทีเดียวพร้อมกัน เมื่อต้องการเลือกหลายคอลัมน์ต่อเนื่องกัน ให้คลิกที่ส่วนหัวคอลัมน์ของคอลัมน์แรก จากนั้นในขณะที่กด SHIFT ค้างไว้ให้คลิกส่วนหัวคอลัมน์ของคอลัมน์สุดท้าย
แทรกตาราง โดยเริ่มต้นในมุมมอง 'ออกแบบ' ในมุมมอง 'ออกแบบ' ก่อนอื่นให้คุณสร้างโครงสร้างของตารางตัวใหม่ จากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อป้อนข้อมูล หรือคุณสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้วิธีอื่นเช่น การวางหรือการนำเข้า
บนแท็บ สร้าง ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิก ออกแบบตาราง
สำหรับแต่ละเขตข้อมูลในตารางของคุณ ให้พิมพ์ชื่อในคอลัมน์ ชื่อเขตข้อมูล แล้วเลือกชนิดข้อมูลจากรายการ ชนิดข้อมูล
หมายเหตุ ถ้าคุณไม่เห็นคอลัมน์ ชื่อเขตข้อมูล และคอลัมน์ ชนิดข้อมูล คุณอาจอยู่ใน มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' แทนที่จะเป็นมุมมอง 'ออกแบบ' ถ้าต้องการสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' ให้คลิก มุมมองออกแบบ บนแถบสถานะของ Access โปรแกรม Access จะถามชื่อของตารางใหม่ จากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ'
ถ้าต้องการ คุณสามารถพิมพ์คำอธิบายให้เขตข้อมูลแต่ละตัวในคอลัมน์ คำอธิบาย จากนั้นคำอธิบายจะปรากฏบนแถบสถานะเมื่อจุดแทรกอยู่ในเขตข้อมูลนั้นในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' นอกจากนั้น คำอธิบายยังใช้เป็นข้อความแถบสถานะสำหรับตัวควบคุมใดๆ ในฟอร์มหรือรายงานที่คุณสร้างด้วยการลากเขตข้อมูลจาก รายการเขตข้อมูล และสำหรับตัวควบคุมใดๆ ที่ถูกสร้างสำหรับเขตข้อมูลนั้นโดยใช้ตัวช่วยสร้างฟอร์ม หรือ ตัวช่วยสร้างรายงาน
หลังจากที่คุณเพิ่มเขตข้อมูลของคุณทั้งหมด ให้บันทึกตารางด้วยการคลิก บันทึก บน แถบเครื่องมือด่วน
คุณสามารถเริ่มป้อนข้อมูลลงในตารางเมื่อใดก็ได้ด้วยการสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' แล้วคลิกที่เซลล์แรกที่ว่าง นอกจากนั้น คุณยังสามารถวางข้อมูลจากแหล่งอื่นได้ ซึ่งจะอธิบายในส่วนต่อไป
การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access
หลังจากป้อนข้อมูลบางส่วนแล้ว ถ้าคุณต้องการเพิ่มเขตข้อมูลอีกอย่างน้อยหนึ่งเขตข้อมูลลงในตาราง คุณสามารถเริ่มพิมพ์ข้อมูลของคุณในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' หรือคุณอาจสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' แล้วเพิ่มเขตข้อมูลใหม่ในตารางออกแบบก็ได้
ตั้งค่าคุณสมบัติเขตข้อมูลในมุมมอง 'ออกแบบ' ไม่ว่าคุณได้สร้างตารางในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' หรือมุมมอง 'ออกแบบ' คุณควรที่จะตรวจสอบและตั้งค่าคุณสมบัติของเขตข้อมูล ซึ่งจะทำได้เฉพาะในมุมมอง 'ออกแบบ' เท่านั้น เมื่อต้องการสลับไปยังมุมมอง 'ออกแบบ' ให้คลิก มุมมองออกแบบ บนแถบสถานะของ Access เมื่อต้องการดูคุณสมบัติของเขตข้อมูล ให้คลิกเขตข้อมูลในตารางออกแบบ คุณสมบัติจะปรากฏด้านล่างของตารางออกแบบ ภายใต้ คุณสมบัติเขตข้อมูล
เมื่อต้องการดูคำอธิบายของคุณสมบัติแต่ละเขตข้อมูล ให้คลิกที่คุณสมบัติแล้วอ่านคำอธิบายในกล่องที่อยู่ถัดจากรายการคุณสมบัติภายใต้ คุณสมบัติเขตข้อมูล ตารางต่อไปนี้อธิบายคุณสมบัติของเขตข้อมูลที่มักจะถูกปรับเปลี่ยน
คุณสมบัติ
คำอธิบาย
ขนาดเขตข้อมูล
สำหรับเขตข้อมูลข้อความ คุณสมบัตินี้ตั้งค่าจำนวนอักขระสูงสุดที่สามารถเก็บได้ในเขตข้อมูล ค่าเริ่มต้นคือ 50 และค่าสูงสุดคือ 255 สำหรับเขตข้อมูลตัวเลข คุณสมบัตินี้ตั้งค่าชนิดตัวเลขที่จะเก็บ (Long Integer, Double และอื่นๆ) เพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ขอแนะนำให้คุณจัดสรรเนื้อที่ให้น้อยที่สุดที่คุณคิดว่าเพียงพอสำหรับข้อมูล คุณสามารถปรับค่าเพิ่มได้ภายหลังถ้าต้องการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบ
คุณสมบัตินี้ตั้งค่าวิธีที่ข้อมูลจะถูกแสดง ซึ่งจะไม่มีผลกระทบกับข้อมูลจริงที่เก็บในเขตข้อมูล คุณสามารถเลือกรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือป้อนรูปแบบที่กำหนดเองได้
รูปแบบการป้อนข้อมูล
ใช้คุณสมบัตินี้เพื่อระบุรูปแบบสำหรับข้อมูลทั้งหมดที่จะถูกป้อนในเขตข้อมูล ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกป้อนอย่างถูกต้อง และมีจำนวนอักขระตามที่ต้องการ สำหรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับวิธีสร้างรูปแบบการป้อนข้อมูล ให้คลิกที่ปุ่มด้านขวาของกล่องคุณสมบัติ
ค่าเริ่มต้น
ใช้คุณสมบัตินี้เพื่อระบุค่าเริ่มต้นที่จะปรากฏในเขตข้อมูลในแต่ละครั้งที่เพิ่มระเบียนใหม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีเขตข้อมูลวันที่/เวลาซึ่งคุณต้องการให้บันทึกวันที่ที่ระเบียนถูกเพิ่มเสมอ คุณสามารถป้อน "Date()" (ไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ) เป็นค่าเริ่มต้น
จำเป็น
คุณสมบัตินี้ตั้งค่าว่าจำเป็นต้องมีค่าในเขตข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้าคุณตั้งค่าเป็น ใช่ Access จะไม่ยอมให้คุณเพิ่มระเบียนใหม่เว้นเสียแต่ว่าจะป้อนค่าลงในเขตข้อมูลนี้
ด้านบนของหน้า
การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access
ถ้าข้อมูลของคุณปัจจุบันถูกเก็บไว้ในโปรแกรมอื่น เช่น Office Excel 2007 คุณสามารถคัดลอกและวางข้อมูลนั้นลงในตาราง Access โดยทั่วไปได้ วิธีนี้ดีที่สุดถ้าข้อมูลของคุณแบ่งเป็นคอลัมน์ไว้แล้วเหมือนในแผ่นงาน Excel ถ้าข้อมูลของคุณอยู่ในโปรแกรมประมวลผลคำ วิธีดีที่สุดคือแบ่งคอลัมน์ของข้อมูลโดยใช้แท็บ หรือแปลงข้อมูลไปในตารางโดยใช้โปรแกรมประมวลผลคำก่อนที่จะคัดลอก ถ้าข้อมูลของคุณจำเป็นต้องแก้ไขหรือจัดการ (เช่นแบ่งชื่อเต็มออกเป็นชื่อกับนามสกุล) คุณอาจต้องแก้ไขหรือจัดการข้อมูลก่อนที่จะคัดลอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับ Access
เมื่อคุณวางข้อมูลลงในตารางเปล่า Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลของแต่ละเขตข้อมูลตามชนิดของข้อมูลที่พบ ตัวอย่างเช่น ถ้าเขตข้อมูลที่วางมีแต่วันที่ Access จะใช้ชนิดข้อมูลวันที่/เวลากับเขตข้อมูลนั้น ถ้าเขตข้อมูลมีแต่คำว่า "yes" และ "no" Access จะใช้ชนิดข้อมูล Yes/No กับเขตข้อมูลนั้น
Access ตั้งชื่อเขตข้อมูลโดยใช้ข้อมูลที่วางของแถวแรกเป็นชื่อเขตข้อมูล ถ้าเขตข้อมูลที่วางในแถวแรกเป็นชนิดเดียวกับแถวที่เหลือ Access จะใช้ข้อมูลแถวแรกเป็นชื่อเขตข้อมูล และรวมแถวนั้นเป็นแถวข้อมูลด้วย ถ้าข้อมูลในแถวแรกที่วางไม่เหมือนกับข้อมูลในแถวอื่นที่ตามมา ข้อมูลแถวแรกจะใช้เป็นชื่อเขตข้อมูลเท่านั้น ไม่นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลด้วย
ถ้าแถวแรกของข้อมูลที่วางถูกตีความว่าเป็นแถวข้อมูลทั้งแถวและถูกใช้เป็นชื่อเขตข้อมูลด้วย คุณควรจะเปลี่ยนชื่อเขตข้อมูลทันทีเพื่อเลี่ยงความสับสน
บันทึกตารางของคุณด้วยการคลิก บันทึก บน แถบเครื่องมือด่วน
ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' ให้คลิกสองครั้งที่หัวคอลัมน์แต่ละคอลัมน์ จากนั้นพิมพ์ชื่อเขตข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับแต่ละคอลัมน์ อาจดูเหมือนว่าคุณกำลังพิมพ์ทับลงบนข้อมูล แต่ว่าแถวหัวคอลัมน์จะมีแต่ชื่อเขตข้อมูลเท่านั้น ไม่มีข้อมูลอยู่
บันทึกตารางของคุณอีกครั้งด้วยการคลิก บันทึก บน แถบเครื่องมือด่วน
หมายเหตุ คุณสามารถเปลี่ยนชื่อเขตข้อมูลได้ด้วยการสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' แล้วแก้ไขชื่อเขตข้อมูลที่นั่นได้ เมื่อต้องการสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' ให้คลิกขวาที่ตารางใน 'บานหน้าต่างนำทาง' จากนั้นคลิก มุมมองออกแบบ เมื่อต้องการสลับกลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' ให้คลิกสองครั้งที่ตารางใน 'บานหน้าต่างนำทาง'
ด้านบนของหน้า
การนำเข้า ผนวก หรือเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งอื่น
คุณอาจมีข้อมูลที่เก็บในอีกโปรแกรมหนึ่งและอยากนำเข้ามาในตารางใหม่หรือผนวกเข้ากับตารางที่มีอยู่ใน Access หรือคุณอาจทำงานกับบุคคลที่เก็บข้อมูลในโปรแกรมอื่นและคุณต้องการทำงานกับข้อมูลนั้นใน Access ด้วยการเชื่อมโยงเข้ามายัง Access ไม่ว่าแบบใดก็ตาม Access จะช่วยให้ทำงานกับข้อมูลจากแหล่งอื่นได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถนำเข้าข้อมูลจากแผ่นงาน Excel จากตารางในฐานข้อมูล Access อื่น จากรายการของ Windows SharePoint Services 3.0 หรือจากแหล่งอื่นที่หลากหลาย ขั้นตอนที่คุณใช้จะต่างกันเพียงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งของคุณ แต่กระบวนงานต่อไปนี้จะช่วยคุณเริ่มต้นใช้งานได้
ใน Access บนแท็บ ข้อมูลภายนอก ในกลุ่ม รับข้อมูลภายนอก ให้คลิกคำสั่งสำหรับชนิดแฟ้มที่คุณกำลังนำเข้า ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังนำเข้าข้อมูลจากแผ่นงาน Excel ให้คลิก Excel ถ้าคุณไม่พบชนิดโปรแกรมที่ถูกต้องอย่างที่ต้องการ ให้คลิก แหล่งอื่น
หมายเหตุ ถ้าคุณไม่พบชนิดรูปแบบที่ถูกต้องในกลุ่ม รับข้อมูลภายนอก คุณอาจจำเป็นต้องเริ่มโปรแกรมซึ่งคุณใช้สร้างข้อมูลแต่แรก แล้วใช้โปรแกรมนั้นบันทึกข้อมูลเป็นรูปแบบแฟ้มที่ใช้กันทั่วไป (เช่น
แฟ้มข้อความ Delimited (แฟ้มข้อความที่มีตัวคั่น: แฟ้มที่ประกอบด้วยข้อมูลที่ค่าในเขตข้อมูลแต่ละเขตถูกแบ่งด้วยตัวอักขระตัวหนึ่ง เช่น จุลภาคหรือแท็บ)) ก่อนที่จะนำเข้าข้อมูลลงใน Access
ในกล่องโต้ตอบ รับข้อมูลภายนอก ให้คลิก เรียกดู เพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูลต้นทาง หรือไม่ก็ให้พิมพ์เส้นทางแบบเต็มของแฟ้มข้อมูลต้นทางในกล่อง ชื่อแฟ้ม
คลิกตัวเลือกที่คุณต้องการ (ทุกโปรแกรมยอมให้คุณนำเข้า และบางโปรแกรมยอมให้คุณผนวกหรือเชื่อมโยง) ภายใต้ ระบุวิธีการและตำแหน่งที่คุณต้องการจะเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลปัจจุบัน คุณสามารถสร้างตารางใหม่โดยใช้ข้อมูลที่นำเข้า หรือ (เฉพาะบางโปรแกรม) คุณสามารถผนวกข้อมูลเข้ากับตารางที่มีอยู่ หรือสร้างตารางที่มีการเชื่อมโยงซึ่งยังคงการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลในโปรแกรมต้นทาง
ถ้าตัวช่วยเริ่มต้น ให้ทำตามคำสั่งในหน้าถัดๆ ไปของตัวช่วย บนหน้าสุดท้ายของตัวช่วย ให้คลิก เสร็จสิ้น
ถ้าคุณนำเข้าวัตถุหรือตารางที่มีการเชื่อมโยงจากฐานข้อมูล Access ไม่ว่ากล่องโต้ตอบ นำเข้าวัตถุ หรือ เชื่อมโยงตาราง จะปรากฏขึ้นหรือไม่ก็ตาม เลือกรายการที่คุณต้องการแล้วคลิก ตกลง
ขั้นตอนที่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกที่จะนำเข้า ผนวก หรือเชื่อมโยงข้อมูลหรือไม่
Access จะถามคุณว่าต้องการบันทึกรายละเอียดของการดำเนินการนำเข้าที่เพิ่งทำไปหรือไม่ ถ้าคุณคิดว่าคุณจะดำเนินการนำเข้าอีกครั้งในอนาคต ให้คลิก ใช่ แล้วป้อนรายละเอียด จากนั้นคุณสามารถทำซ้ำการดำเนินการได้อย่างง่ายดายในภายหลังด้วยการคลิก การนำเข้าที่บันทึกไว้ ในกลุ่ม รับข้อมูลภายนอก บนแท็บ ข้อมูลภายนอก ถ้าคุณไม่ต้องการบันทึกรายละเอียดการดำเนินการ ให้คลิก ปิด
ถ้าคุณเลือกที่จะนำเข้าตาราง Access จะนำเข้าข้อมูลในตารางใหม่จากนั้นแสดงตารางภายใต้กลุ่ม ตาราง ใน 'บานหน้าต่างนำทาง' ถ้าคุณเลือกที่จะผนวกข้อมูลลงในตารางที่มีอยู่ ข้อมูลจะถูกเพิ่มลงในตารางนั้น ถ้าคุณเลือกที่จะเชื่อมโยงข้อมูล Access จะสร้างตารางที่มีการเชื่อมโยงภายใต้กลุ่ม ตาราง ใน 'บานหน้าต่างนำทาง'
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีนำเข้าข้อมูลใน Access ให้ดูที่การเชื่อมโยงในส่วน ดูเพิ่มเติม
ด้านบนของหน้า
การเปิดฐานข้อมูล Access ที่มีอยู่แล้ว
คลิก ปุ่ม Microsoft Office จากนั้นคลิก เปิด
ในกล่องโต้ตอบ เปิด ให้เรียกดูฐานข้อมูลที่คุณต้องการเปิด
ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการเปิดฐานข้อมูลในแบบการใช้ร่วมกันในสภาพแวดล้อมแบบผู้ใช้หลายคนเพื่อที่คุณและผู้ใช้คนอื่นสามารถอ่านและเขียนฐานข้อมูลได้พร้อมกัน ให้คลิกสองครั้งที่ฐานข้อมูล หรือเลือกฐานข้อมูลแล้วคลิก เปิด
เมื่อต้องการเปิดฐานข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว เพื่อที่คุณสามารถดูแต่แก้ไขไม่ได้ ให้เลือกฐานข้อมูล คลิกลูกศรถัดจากปุ่ม เปิด แล้วคลิก เปิดเพื่ออ่านอย่างเดียว
เมื่อต้องการเปิดฐานข้อมูลในแบบมีเอกสิทธิ์เฉพาะบุคคลเพื่อที่คนอื่นจะไม่สามารถเปิดได้ขณะที่คุณเปิดอยู่ ให้เลือกฐานข้อมูลแล้วคลิกลูกศรถัดจากปุ่ม เปิด แล้วคลิก เปิดแบบเอกสิทธิ์เฉพาะบุคคล
เมื่อต้องการเปิดฐานข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว และป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเปิดขณะที่คุณเปิดอยู่ ให้คลิกฐานข้อมูล คลิกลูกศรถัดจากปุ่ม เปิด แล้วคลิก เปิดแบบอ่านอย่างเดียวเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะบุคคล
ถ้าคุณไม่พบฐานข้อมูลที่คุณต้องการเปิด
ในกล่องโต้ตอบ เปิด คลิกที่ คอมพิวเตอร์ของฉัน (My Computer) หรือคลิก คอมพิวเตอร์ของฉัน ในรายการแบบหล่นลง มองหาใน
ในรายการของไดรฟ์ ให้คลิกขวาที่ไดรฟ์ที่คุณคิดว่าอาจจะมีฐานข้อมูล แล้วคลิก ค้นหา
พิมพ์เกณฑ์การค้นหาของคุณในกล่องโต้ตอบ ผลลัพธ์การค้นหา แล้วกด ENTER เพื่อค้นหาฐานข้อมูล
ถ้าพบฐานข้อมูล ให้คลิกสองครั้งเพื่อเปิด
คุณต้องคลิก ยกเลิก ในกล่องโต้ตอบ เปิด สำหรับฐานข้อมูลที่จะเปิด จากนั้นปิดกล่องโต้ตอบ ผลลัพธ์การค้นหา
หมายเหตุ คุณสามารถเปิดแฟ้มข้อมูลในรูปแบบแฟ้มภายนอก เช่น dBASE, Paradox, Microsoft Exchange หรือ Excel ได้โดยตรง นอกจากนั้น คุณยังสามารถเปิด
แหล่งข้อมูล ODBC (แหล่งข้อมูล ODBC: ข้อมูลและรายละเอียดที่จำเป็นต้องใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลนั้นจากโปรแกรมและฐานข้อมูลที่สนับสนุนโพรโทคอล Open Database Connectivity (ODBC)) เช่น Microsoft SQL Server หรือ Microsoft FoxPro โปรแกรม Access จะสร้างฐานข้อมูล Access ใหม่โดยอัตโนมัติในโฟลเดอร์เดียวกับแฟ้มข้อมูล และเพิ่มการเชื่อมโยงไปยังแต่ละตารางในฐานข้อมูลภายนอก
เคล็ดลับ
เมื่อต้องการเปิดฐานข้อมูลตัวหนึ่งในบรรดาฐานข้อมูลที่เคยเปิดมาแล้วล่าสุด ให้คลิกชื่อแฟ้มของฐานข้อมูลนั้นในรายการ เปิดฐานข้อมูลล่าสุด ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access Access จะเปิดฐานข้อมูลโดยใช้การตั้งค่าตัวเลือกเดียวกันกับที่ฐานข้อมุลที่คุณเปิดใช้ครั้งสุดท้าย ถ้ารายการของแฟ้มที่ใช้ล่าสุดไม่แสดง บนเมนู แฟ้ม ให้คลิก ตัวเลือก Access ในกล่องโต้ตอบ ตัวเลือก Access ให้คลิก ปรับให้เป็นแบบส่วนตัว จากนั้นเลือกกล่องกาเครื่องหมาย รายการแฟ้มที่ใช้ล่าสุด คุณสามารถเลือกจำนวนแฟ้มที่ใช้ล่าสุดที่คุณต้องการให้แสดงในรายการได้สูงสุด 9 แฟ้ม
ถ้าคุณกำลังเปิดฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่ง เปิด บนเมนู แฟ้ม คุณสามารถดูรายการทางลัดไปยังฐานข้อมูลที่คุณเคยเปิดมาก่อนด้วยการคลิก เอกสารล่าสุดของฉัน ในกล่องโต้ตอบ เปิด
เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดฐานข้อมูล Access ที่มีอยู่ ให้ดูที่การเชื่อมโยงในส่วน ดูเพิ่มเติม ในบทความนี้
ด้านบนของหน้า
การสร้างแม่แบบเปล่าที่กำหนดเอง
เมื่อคุณสร้างฐานข้อมูลเปล่าตัวใหม่ Access จะเปิดตารางใหม่ซึ่งคุณสามารถป้อนข้อมูลได้ แต่จะไม่สร้างวัตถุอื่นในฐานข้อมูล ถ้าคุณต้องการวัตถุอื่น เช่น ฟอร์ม รายงาน แมโคร หรือตารางเพิ่มเติม ให้ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลใหม่ทุกตัวที่คุณสร้าง คุณสามารถสร้างแม่แบบเปล่าที่กำหนดเองซึ่งมีวัตถุเหล่านั้น จากนั้นครั้งต่อไปที่คุณสร้างฐานข้อมูลใหม่ ฐานข้อมูลใหม่จะมีวัตถุเหล่านั้นที่อยู่ในแม่แบบ นอกจากวัตถุเหล่านั้น แม่แบบยังสามารถมีตารางที่ใส่ข้อมูลไว้แล้วได้
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณมีคอลเลกชันของแมโครที่คุณต้องการใช้ในทุกโครงการ ถ้าคุณสร้างแม่แบบเปล่าที่มีแมโครเหล่านั้น Access จะรวมแมโครเหล่านั้นำแในฐานข้อมูลใหม่ใดๆ ที่คุณสร้าง
คุณสามารถสร้างแม่แบบเปล่าในรูปแบบแฟ้ม Office Access 2007 รูปแบบแฟ้ม Access 2002-2003 หรือรูปแบบแฟ้ม Access 2000 แม่แบบต้องถูกตั้งชื่อว่า ว่าง.accdb สำหรับรูปแบบแฟ้ม Office Access 2007 และ ว่าง.mdb สำหรับรูปแบบแฟ้มในรุ่นก่อนหน้า
ถ้ารูปแบบแฟ้มเริ่มต้นถูกตั้งค่าเป็น Access 2000 หรือ Access 2002 - 2003 Access จะใช้ ว่าง.mdb เป็นชื่อแฟ้มแม่แบบเปล่า ฐานข้อมูลใหม่จะถูกสร้างในรูปแบบแฟ้มเดียวกับ ว่าง.mdb ตัวอย่างเช่น แม้ว่ารูปแบบแฟ้มเริ่มต้นของคุณจะเป็น Access 2000 แต่ถ้าแม่แบบชื่อ ว่าง.mdb เป็นรูปแบบแฟ้ม Access 2002-2003 ฐานข้อมูลใหม่ใดๆ ที่คุณสร้างจะเป็นรูปแบบ Access 2002-2003
ถ้ารูปแบบแฟ้มเริ่มต้นถูกตั้งค่าเป็น Access 2007 Access จะใช้ ว่าง.accdb เป็นชื่อแฟ้มสำหรับแม่แบบเปล่า
ฉันจะเปลี่ยนรูปแบบแฟ้มเริ่มต้นได้อย่างไร
คลิก ปุ่ม Microsoft Office แล้วคลิก ตัวเลือกการเข้าใช้งาน
ในกล่องโต้ตอบ ตัวเลือก Access ให้คลิก ขั้นสูง
ภายใต้ ขั้นสูง เลือกรูปแบบที่คุณต้องการจากรายการแบบหล่นลง รูปแบบของแฟ้มเริ่มต้น
เมื่อต้องการสร้างแม่แบบเปล่า ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เริ่มต้นด้วยฐานข้อมูลเปล่า จากนั้นนำเข้าหรือสร้างวัตถุที่คุณต้องการรวมในแม่แบบ
ทำสำเนาของฐานข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งมีวัตถุที่คุณต้องการในแม่แบบ จากนั้นลบวัตถุอื่นๆ ที่คุณไม่ต้องการ
หลังจากที่คุณมีวัตถุที่ต้องการในแม่แบบแล้ว คุณต้องบันทึกลงในตำแหน่งที่ระบุ
คลิก ปุ่ม Microsoft Office จากนั้นชี้ไปที่ บันทึกเป็น
ในกล่องโต้ตอบ บันทึกเป็น เรียกดูโฟลเดอร์แม่แบบโฟลเดอร์ใดโฟลเดอร์หนึ่งในสองโฟลเดอร์นี้
โฟลเดอร์แม่แบบของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น C:\Documents and Settings\\Application Data\Microsoft\Templates
โฟลเดอร์แม่แบบของระบบ ตัวอย่างเช่น C:\Program Files\Microsoft Office\Templates\1033\Access
หมายเหตุ แม่แบบเปล่าในโฟลเดอร์แม่แบบของระบบจะแทนที่แม่แบบเปล่าในโฟลเดอร์แม่แบบใดๆ ของผู้ใช้
ในกล่อง ชื่อแฟ้ม พิมพ์ ว่าง.accdb (หรือ ว่าง.mdb ถ้าคุณกำลังสร้างแม่แบบในรุ่นก่อนหน้า) จากนั้นคลิก บันทึก
ตอนนี้ แม่แบบใหม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว เมื่อคุณสร้างฐานข้อมูลเปล่าตัวใหม่ วัตถุในแม่แบบจะรวมอยู่ในฐานข้อมูลใหม่ใดๆ ที่คุณสร้างตามค่าเริ่มต้น Access จะเปิดตารางใหม่ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เหมือนกับที่ทำเมื่อคุณสร้างฐานข้อมูลเปล่าใหม่โดยไม่ใช้แม่แบบ
เมื่อต้องการหยุดใช้แม่แบบเปล่า ให้ลบหรือเปลี่ยนชื่อแฟ้ม ว่าง.


Microsoft Power point นำเสนองาน

ความหมายของโปรแกรม Powerpoint

เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่อยู่ในชุดของ Microsoft Office โปรแกรมนี้เน้นในเรื่องการแสดงภาพประกอบคำอธิบาย ใช้เพื่อการนำเสนองาน (presentation) โดยทำเป็นหน้า ๆ อาจทำให้มีเสียงบรรยายประกอบด้วยก็ได้ หรือจะสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกผู้ฟังก็ได้นอกจากการสร้างงานพรีเซนเตชันออกทางจอภาพแล้ว ยังสามารถสร้างเอกสารประกอบการบรรยาย เช่น เอกสารแจกผู้ฟัง บันทึกย่อสำหรับผู้บรรยาย เป็นต้น รวมทั้งการนำเสนองานในรูปแบบของเว็บเพจ และใน Microsoft PowerPoint 2003 ยังสามารถบันทึกผลงานลงในซีดีรอมเพื่อนำไปแสดงบนคอมพิวเตอร์ที่ได้ติดตั้งโปรแกรม Microsoft PowerPoint ได้ด้วยการนำเสนอข้อมูล (Presentation) หมายถึง การบรรยายหรือการนำเสนอผลงานให้แก่ ผู้ฟังหรือการถ่ายทอดความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์แน่ชัดให้ผู้ฟังเข้าใจภายในเวลาที่จำกัด ดังนั้น การนำเสนอจะต้องทราบวัตถุประสงค์ให้แน่ชัด เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความคิดได้ตรงตามความต้องการครบถ้วนและกระชับ โดยทั่วไปมักใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
1. เพื่อบอกถึงความหมายของคำศัพท์ที่จำเป็นและสำคัญของการใช้โปรแกรม PowerPoint 2. เข้าใจชนิดและใช้เครื่องมือของโปรแกรมนี้ได้อย่างถูกต้อง
3. บอกถึงวิธีการนำเสนอของโปรแกรมPower point ได้
KEY WORDS
-Slide แผ่นงานที่พร้อมจะทำการใส่ข้อมูลเพื่อสร้างการนำเสนองาน
-Slide Show คือการนำเสนอหลังจากที่ใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
-Slide Sorter การแทรกแผ่นงานในลักษณะที่ต้องการเพิ่มเติมแผ่นงานที่จะทำการนำเสนอ
-Diagram การใช้แผนภูมิรูปต่างๆเข้ามาใช้ในการนำเสนอ
-Text Box การใช้กล่องข้อความเพื่อใส่ข้อความในลักษณะและรูปแบบต่างๆมาใช้ในการนำเสนอ
-Normal View การดูSlide ในมุมมองปกติ ที่พร้อมจะทำงานหรือแก้ไข
-Movie from Clip Organizer การแทรกรูปภาพเคลื่อนไหวจากที่โปรแกรมMicrosoft Powerpoint มีให้มา
-Movie from file การแทรกรูปภาพเคลื่อนไหวจากไฟล์ที่เราเก็บไว้
-Sound from Clip Organizer การใส่และแทรกเสียงจากที่โปรแกรมMicrosoft Powerpoint มีให้มา
-Sound from files การแทรกและใส่เสียงจากไฟล์ที่เราเก็บไว้
-Play CD Audio Track การเล่นและใส่เพลงลงไปใน Slide
-Record Sound การบันทึกเสียงที่ต้องการบันทึกลงไปใน Slide เพื่อเป็นการอธิบายประกอบในภาพสไลด์นั้นๆ
-Slide design การออกแบบSlide
-Design Template การออกแบบหน้าสไลด์เปล่าๆก่อนที่จะทำการใส่ข้อมูล
-Color Schemes การออกแบบสีสันให้กับสไลด์
-Organization Chart แผนผังแสดงความเกี่ยวข้องของบุคคลหรือแผนกงานในองค์กร
-Cycle Diagram แผนภูมิแสดงวงจร รูปวงกลม
-Radial Diagram แผนภูมิรูปดาวกระจาย
-Pyramid Diagram แผนภูมิรูปปิระมิด
-Add Effect การเพิ่มเอฟเฟค และลูกเล่นให้ดูน่าติดตาม
-New Slide การเพิ่มหน้าสไลด์ใหม่
-Duplicate Slide การคัดลอกหรือสำเนาหน้าสไลด์
-Slide Number การทำลำดับเลขหน้าสไลด์
-Comment เป็นการให้ความขยายหรือคำที่ต้องการอธิบายเพิ่มเติม
-Insert Table การแทรกตาราง
-Numbering การหัวข้อตัวเลข
-Bullets การทำลักษณะหรือข้อแตกต่างให้กับหัวข้อนั้นๆ
-Increase Font Size การเพิ่มขนาดของตัวอักษร
-Decrease Font size การลดขนาดของตัวอักษร
-Font Color สีของตัวอักษร
-Background พื้นหลังของสไลด์
-Shadow การทำเงา เช่นทำเงาให้เน้นตัวอักษร
-Underline การขีดเส้นใต้
-Italic การทำตัวหนังสือและลักษณะตัวอักษรให้เอียง
-Bold การทำตัวหนังสือและลักษณะตัวอักษรให้หนา
-Font Size ขนาดของตัวอักษร เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก มีหลายไซส์
-Font แบบของตัวอักษร
-Spelling การตรวจสอบคำถูกผิด
-Research การค้นหาสิ่งหรือคำที่ต้องการจะค้น จะมีช่องสำหรับค้นหา และมีผลการแสดงของารค้นหา
-Control Toolbox กล่องควบคุมการใช้เครื่องมือ
เทคนิคการใช้ โปรแกรม PowerPoint

คุณสามารถทำงานต่อไปนี้ได้ในขณะที่เรียกใช้งานนำเสนอในมุมมองนำเสนอภาพนิ่ง:
หยุดหรือเริ่มต้นงานนำเสนอใหม่อีกครั้งได้ด้วยการ
กด S หรือ PLUS SIGN (เครื่องหมายบวก)
สิ้นสุดการนำเสนอภาพนิ่ง
กด ESC, CTRL+BREAK, หรือ HYPHEN (เครื่องหมายขีดสั้น)
ไปที่ หมายเลข ภาพนิ่ง
กด หมายเลข+ENTER
ไปที่ภาพนิ่งที่ถูกซ่อนไว้ภาพต่อไป
กด H
ย้อนกลับไปที่ภาพนิ่งภาพแรก
กด 1+ENTER (หรือกดปุ่มบนเมาส์ทั้งสองปุ่มติดต่อกัน 2 วินาที)
แสดงผลหน้าจอที่เป็นสีดำ หรือย้อนกลับไปที่การนำเสนอภาพนิ่ง
กด B หรือ PERIOD (เครื่องหมายจุด)
แสดงผลหน้าจอสีขาว หรือย้อนกลับไปที่การนำเสนอภาพนิ่ง
กด W หรือ COMMA (เครื่องหมายจุลภาค)
ตั้งเวลาใหม่ในขณะที่กำลังซ้อมการนำเสนอ
กด T
แสดงหรือซ่อนการมาร์กอัปด้วยน้ำหมึก
กด CTRL+M

การทำงานกับตัวชี้ในระหว่างการนำเสนอภาพนิ่ง

แสดงหรือซ่อนตัวชี้ของลูกศรและแถบเครื่องมือ นำเสนอภาพนิ่ง ได้ด้วยการกด A หรือ =
ซ่อนตัวชี้ และแถบเครื่องมือ นำเสนอภาพนิ่ง ทันทีได้ด้วยการกด CTRL+H
ซ่อนตัวชี้และแถบเครื่องมือ นำเสนอภาพนิ่ง ภายใน 15 วินาทีได้ด้วยการกด CTRL+U
แสดงผลตัวชี้ที่ถูกซ่อนไว้อีกครั้ง และ/หรือเปลี่ยนตัวชี้เป็นปากกาได้ด้วยการกด CTRL+P
แสดงตัวชี้ที่ถูกซ่อนไว้อีกครั้ง และ/หรือเปลี่ยนตัวชี้เป็นลูกศรได้ด้วยการกด CTRL+A

การทำงานกับภาพเคลื่อนไหว

ทำให้ภาพถัดไปเคลื่อนไหว หรือข้ามไปที่ภาพนิ่งภาพถัดไปได้ด้วยการกดปุ่ม N, ENTER, PAGE DOWN, RIGHT ARROW, DOWN ARROW หรือ SPACEBAR (หรือคลิกที่เมาส์)
ทำให้ภาพก่อนหน้านี้เคลื่อนไหว หรือย้อนกลับไปที่ภาพนิ่งก่อนหน้านี้ได้ด้วยการกดปุ่ม P, PAGE UP, LEFT ARROW, UP ARROW หรือ BACKSPACE

ในขณะที่แก้ไขงานนำเสนอ แสดงผลเครื่องมือเพิ่มเติม

ดูแถบงานของ Windows ได้ด้วยการกด CTRL+T
แสดงผลกล่องโต้ตอบภาพนิ่งทั้งหมด ได้ด้วยการกด CTRL+S
แสดงผลเมนูวิธีลัดได้ด้วยการกด SHIFT+F10 (หรือคลิกขวาที่เมาส์)
ดูรายชื่อปุ่มวิธีลัดบนแป้นพิมพ์ได้ด้วยการกด F1

การทำงานกับ รูปร่างอัตโนมัติ ในมุมมองปกติ

คัดลอกลักษณะการจัดรูปแบบของรูปร่างที่เลือกไว้ในปัจจุบันได้ด้วยการกด CTRL+SHIFT+C
วางลักษณะการจัดรูปแบบของรูปร่างที่เลือกไว้ในปัจจุบันได้ด้วยการกด CTRL+SHIFT+V
วางเฉพาะการจัดรูปแบบข้อความได้ด้วยการเลือกเฉพาะข้อความที่อยู่ในกล่องข้อความ และกด CTRL+SHIFT+V
ใช้คำสั่ง รูปร่างอัตโนมัติเพิ่มเติม (คลิกปุ่ม รูปร่างอัตโนมัติ บนแถบเครื่องมือ รูปวาด) เพื่อแสดงผลบานหน้าต่างงาน ภาพตัดปะ ที่ ๆ คุณสามารถค้นหาภาพตัดปะก่อนทำการแทรก
แปลงรูปร่างอัตโนมัติหนึ่งเป็นอีกแบบหนึ่งอย่างรวดเร็วโดยไม่ทำให้การจัดรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงหายไปได้ด้วยการเลือกรูปร่างที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง คลิกปุ่ม วาด (บนแถบเครื่องมือ รูปวาด) ชี้เมาส์ไปที่ เปลี่ยนรูปร่างอัตโนมัติ และคลิกรูปร่างอัตโนมัติแบบใหม่


Microsoft Excel สร้างตารางคำนวณ

การสร้างหรือลบตาราง Excel ในแผ่นงาน

เมื่อคุณสร้างตาราง (ก่อนหน้านี้เรียกว่า รายการ) ในแผ่นงาน (แผ่นงาน: เอกสารหลักที่คุณใช้ใน Excel เพื่อจัดเก็บและทำงานกับข้อมูล ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กระดาษคำนวณ แผ่นงานจะประกอบด้วยเซลล์ที่จัดระเบียบอยู่ในรูปของคอลัมน์และแถว และแผ่นงานจะถูกเก็บอยู่ในสมุดงานเสมอ)ของ Microsoft Office Excel คุณสามารถจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในตารางนั้นได้อย่างอิสระจากข้อมูลภายนอกตาราง ตัวอย่างเช่น คุณสามารถกรองคอลัมน์ของตาราง เพิ่มแถวสำหรับผลรวม นำการจัดรูปแบบตารางไปใช้ และประกาศตารางไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่กำลังเรียกใช้ Windows SharePoint Services 3.0ถ้าคุณไม่ต้องการทำงานกับข้อมูลในตาราง คุณสามารถแปลงตารางเป็นช่วงปกติในขณะที่เก็บการจัดรูปแบบลักษณะของตารางที่คุณใช้ได้เมื่อคุณไม่ต้องการใช้ตารางคุณสามารถลบออกได้
หมายเหตุ คุณต้องระวังการสับสนระหว่างตาราง Excel กับ ตารางข้อมูล (ตารางข้อมูล: ช่วงของเซลล์ที่แสดงผลลัพธ์จากการแทนค่าที่ต่างกันลงในสูตรอย่างน้อยหนึ่งสูตร ตารางข้อมูลมีอยู่สองชนิด คือ ตารางข้อมูลแบบตัวแปรเดียว และตารางข้อมูลแบบสองตัวแปร) ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดคำสั่งแบบ what-if สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางข้อมูล ให้ดู การคำนวณหลายๆ ผลลัพธ์ด้วยตารางข้อมูล
คุณต้องการทำสิ่งใด
สร้างตาราง
แปลงตารางเป็นช่วงข้อมูล
ลบตาราง

สร้างตาราง

คุณสามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งจากสองวิธีนี้ในการสร้างตาราง คุณสามารถแทรกตารางในลักษณะตารางเริ่มต้น หรือสามารถจัดรูปแบบข้อมูลของคุณให้เป็นตารางในลักษณะที่คุณเลือกได้
แทรกตาราง
บนแผ่นงาน ให้เลือกช่วงของเซลล์ที่คุณต้องการรวมในตาราง โดยเซลล์ดังกล่าวสามารถเป็นเซลล์ว่างหรือเซลล์ที่มีข้อมูลก็ได้ บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิก ตาราง
แป้นพิมพ์ลัด นอกจากนี้ คุณยังสามารถกดปุ่ม CTRL+L หรือ CTRL+T ได้อีกด้วย
ถ้าช่วงที่เลือกมีข้อมูลที่คุณต้องการแสดงเป็นส่วนหัวของตาราง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย ตารางของฉันมีส่วนหัวของตาราง
ส่วนหัวของตารางจะแสดงชื่อเริ่มต้นถ้าคุณไม่ได้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย ตารางของฉันมีส่วนหัวของตาราง คุณสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อเริ่มต้นได้โดยการพิมพ์ข้อความที่คุณต้องการ
หมายเหตุ ถ้าคุณไม่ต้องการแสดงส่วนหัวของตาราง คุณสามารถปิดได้ในภายหลัง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดส่วนหัวของตาราง ให้ดู การเปิดหรือปิดส่วนหัวของตาราง Excel

เคล็ดลับ
หลังจากคุณสร้างตาราง เครื่องมือตาราง จะพร้อมใช้งาน และแท็บ ออกแบบ จะถูกแสดง คุณสามารถใช้เครื่องมือบนแท็บ ออกแบบ เพื่อกำหนดตารางเองหรือแก้ไขตารางได้
กรณีนี้ไม่เหมือนกับรายการใน Office Excel 2003 ตารางจะไม่มีแถวพิเศษ (ที่ทำเครื่องหมาย *) สำหรับเพิ่มแถวใหม่อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเพิ่มหรือแทรกแถวในตาราง ให้ดู
การเพิ่มหรือเอาแถวและคอลัมน์ของตาราง Excel ออก
จัดรูปแบบข้อมูลเป็นตาราง
บนแผ่นงาน ให้เลือกช่วงเซลล์ว่างหรือเซลล์ที่มีข้อมูลที่คุณต้องการจัดรูปแบบให้เป็นตารางอย่างรวดเร็ว
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ลักษณะ ให้คลิก จัดรูปแบบเป็นตาราง
หมายเหตุ เมื่อคุณใช้ จัดรูปแบบเป็นตาราง Office Excel จะแทรกตารางให้โดยอัตโนมัติ
ภายใต้ อ่อนปานกลาง หรือ เข้ม ให้คลิกลักษณะตารางที่คุณต้องการใช้
หมายเหตุ ลักษณะตารางแบบกำหนดเองจะพร้อมใช้งานภายใต้ กำหนดเอง หลังจากที่คุณสร้างลักษณะตารางดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งลักษณะแล้ว สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการสร้างลักษณะตารางแบบกำหนดเอง ให้ดูี่ การจัดรูปแบบตาราง Excel

เคล็ดลับ
หลังจากคุณสร้างตาราง เครื่องมือตาราง จะพร้อมใช้งาน และแท็บ ออกแบบ จะถูกแสดง คุณสามารถใช้เครื่องมือบนแท็บ ออกแบบ เพื่อกำหนดตารางเองหรือแก้ไขตารางได้
ไม่เหมือนกับรายการใน Excel 2003 ตารางจะไม่มีแถวพิเศษ (ที่ทำเครื่องหมาย *) สำหรับการเพิ่มแถวใหม่อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มหรือแทรกแถวในตาราง ให้ดู
การเพิ่มหรือเอาแถวและคอลัมน์ของตาราง Excel ออก
ด้านบนของหน้า
แปลงตารางเป็นช่วงข้อมูล
คลิกตำแหน่งใดๆ ในตาราง
เคล็ดลับ การกระทำนี้จะแสดง เครื่องมือตาราง ซึ่งจะเพิ่มแท็บ ออกแบบ
บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม เครื่องมือ ให้คลิก แปลงเป็นช่วง
หมายเหตุ ไม่มีคุณลักษณะของตารางอีกต่อไปหลังจากที่คุณแปลงตารางกลับไปเป็นช่วง ตัวอย่างเช่น แถวส่วนหัวจะไม่รวมลูกศรเรียงลำดับหรือลูกศรตัวกรองอีกต่อไป และการอ้างอิงที่มีแบบแผน (การอ้างอิงที่ใช้ชื่อตาราง) ที่นำมาใช้ในสูตรจะกลับไปเป็นการอ้างอิงเซลล์โดยทั่วไป

เคล็ดลับ
นอกจากนี้ คุณยังสามารถคลิกขวาตาราง ชี้ไปที่ ตาราง แล้วคลิก แปลงเป็นช่วง ได้อีกด้วย
ทันทีที่คุณสร้างตารางขึ้น คุณสามารถคลิก เลิกทำ ได้ บน แถบเครื่องมือด่วน เพื่อแปลงตารางนั้นกลับไปเป็นช่วง
ด้านบนของหน้า
ลบตาราง
บนแผ่นงาน ให้เลือกตาราง
กด DELETE

เคล็ดลับ คุณยังสามารถคลิก เลิกทำ บน แถบเครื่องมือด่วน เพื่อลบตารางที่คุณเพิ่งสร้างได้อีกด้วย


หลักการสร้างสูตรคำนวณ และลำดับการคำนวณ


ในการสร้างสูตรคำนวณ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ โดยเริ่มจากเครื่องหมายเท่ากับ(=)จากนั้นจึงตามด้วยชื่อฟังก์ชัน ตัวเลขหรือชื่อเซลล์ที่ใช้ในการอ้างอิง และเครื่องหมายตัวดำเนินการ เช่น เครื่องหมาย(+)ลบ( - )คูณ( * )หาร( / )เป็นต้น

ลำดับการคำนวน

Excel จะทำการคำนวณค่าต่างๆ ตามลำดับการคำนวณจากซ้ายไปขวา และหากในสูตรคำนวณมีเครื่องหมายวงเล็บก่อนจากนั้นก็จะคำนวณหาคำตอบตามลำดับของกลุ่มเครื่องหมายตัวดำเนินการดังนี้
1.เครื่องหมายยกกำลัง (^) 2.เครื่องหมายคูณ( * )หาร( / )3.เครื่องหมายเชื่อมข้อความ ( &)4.เครื่องหมาย(+)ลบ( - )5. เครื่องหมายเท่ากับ(=) และเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่า (<และ>)

Microsoft Word ประมวลคำ

ประมวลคำ

(ชื่ออย่างเป็นทางการขึ้นเป็นระบบการเตรียมเอกสาร) เป็น
คอมพิวเตอร์ โปรแกรม ที่ใช้ในการผลิต (รวมถึงองค์ประกอบการแก้ไขการจัดรูปแบบและการพิมพ์เป็นไปได้) ของวัสดุประเภทพิมพ์ของ Word processor อาจหมายถึงชนิดของ alone สำนักงานเครื่องยืนที่นิยมในปี 1970 และ 1980 รวมข้อความคีย์บอร์ดและฟังก์ชั่นการพิมพ์ของ พิมพ์ดีดไฟฟ้า ที่มีโปรเซสเซอร์เฉพาะ
(เช่น processor คอมพิวเตอร์) สำหรับข้อความที่แก้ไขของ แต่คุณสมบัติและการออกแบบที่แตกต่างกันระหว่างผู้ผลิตและรุ่นด้วยคุณสมบัติใหม่เพิ่มเป็นเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์คำหลายปีมักจะแนะนำจอแสดงผลขาวดำและในความสามารถในการบันทึกเอกสาร
การ์ดหน่วยความจำ หรือ แผ่นดิสก์ การพิมพ์แบบต่อมานำนวัตกรรมเช่นโปรแกรมตรวจสอบการสะกดตัวเลือกการจัดรูปแบบเพิ่มขึ้นและ dot - matrix เป็นชุดอเนกประสงค์เพิ่มเติมของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแยก พิมพ์ เป็นธรรมดา, มากที่สุด บริษัท ผลิตเครื่องธุรกิจหยุดประมวลผลคำเป็น - alone สำนักงานเครื่องยืน เป็นของ 2009 มีเพียงสอง บริษัท
Classic และ
AlphaSmart ซึ่งยังคงทำคนเดียวคำ processors - stand [1] เครื่องเก่ามาก แต่ยังคงใช้ Word processors จะสืบทอดจากข้อความต้นรูปแบบเครื่องมือ
(บางครั้งเรียกว่าเครื่องมือเหตุผลข้อความจากความสามารถเฉพาะของจริง)
การประมวลผล Word เป็นหนึ่งในโปรแกรมเร็วสำหรับ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในสำนักงานการผลิต
แต่ประมวลผลคำก่อนใช้ tag - based เอกสารการจัดรูปแบบที่สุดประมวลผลคำทันสมัยใช้ประโยชน์จาก
ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก ให้บางรูป สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณได้รับ การแก้ไข ส่วนมากเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยหนึ่งหรือหลายโปรแกรมที่สามารถผลิตได้รวมพลของ ภาพ , กราฟิก และข้อความที่มีการจัดการหลัง การประเภท ความสามารถ
Microsoft Word เป็นคำการใช้ซอฟต์แวร์อย่างแพร่หลายมากที่สุด Microsoft estimates that over 500,000,000 people use the Microsoft Office suite, [ 2 ] which includes Word. Microsoft ประมาณการว่าเกิน 500,000,000 ผู้ใช้ Microsoft Office suite, [2] ซึ่งรวมถึงwordหลายโปรแกรมประมวลผลคำอื่น ๆ อยู่รวมทั้ง WordPerfect (ที่ครอบงำตลาดจากช่วงกลางทศวรรษ 1980 ถึง 1990 - ต้นในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microsoft ของ MS - DOS ระบบปฏิบัติการ ) และ มาเปิด โปรแกรม OpenOffice.org Writer , AbiWord , KWord และ LyX Web-based word processors, such as Google Docs , are a relatively new category. Web - based ประมวลผลคำเช่น Google Docs , เป็นหมวดค่อนข้างใหม่

ลักษณะ

การประมวลผลคำมักจะแสดงถึงสถานะของการจัดการข้อความของฟังก์ชันที่ขยายพื้นฐานเกินความสามารถในการใส่และเปลี่ยนข้อความดังกล่าวอัตโนมัติเป็นรุ่น :
จดหมาย batch โดยใช้แบบฟอร์มหนังสือ
แม่ และฐานข้อมูลที่อยู่ (ที่เรียกว่าการผสาน mail);
ดัชนีของคำหลักและหมายเลขหน้าของพวกเขา
สารบัญส่วนที่มีชื่อและหมายเลขหน้าของพวกเขา
ตารางของตัวเลขกับชื่อคำอธิบายและหมายเลขหน้าของพวกเขา
อ้างอิงข้ามกับส่วนหรือหมายเลขหน้า
หมายเลขเชิงอรรถ
ใหม่
เวอร์ชัน ของเอกสารการใช้ตัวแปร (เช่นหมายเลขรุ่นชื่อสินค้า ฯลฯ )
ฟังก์ชันการประมวลผลคำอื่น ๆ รวมถึง"ตรวจการสะกด"(จริงตรวจสอบกับ wordlists), การตรวจสอบไวยากรณ์"(ตรวจสอบสิ่งที่ดูเหมือนจะผิดไวยากรณ์ง่าย) และพจนานุกรม""function (ค้นหาคำกับความหมายคล้ายกันหรือตรงข้าม)คุณสมบัติทั่วไปอื่น ๆ รวมถึงการแก้ไขร่วมกันความคิดเห็นและคำอธิบายประกอบการสนับสนุนสำหรับรูปและไดอะแกรมและภายในอ้างอิงข้ามสามารถโดดเด่นจากหลาย ๆ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์
บรรณาธิการ Text (ตัวอย่างทันสมัยซึ่งรวม Notepad , BBEdit , Kate , Gedit ) เป็นสารตั้งต้นในการประมวลผลคำในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเขียนและแก้ไขข้อความที่พวกเขาไม่ได้จัดรูปแบบเอกสารซึ่งสามารถทำได้โดย batch ระบบการประมวลผลเอกสารเริ่มต้นด้วย TJ - 2 และ น้ำท่า และยังคงมีอยู่ในระบบเช่น LaTeX เป็นโปรแกรม (ที่ดำเนินการขยายสื่อแบบเพจเพื่อ HTML และ CSS ) แก้ไขข้อความที่ใช้ตอนนี้ส่วนใหญ่ โปรแกรมเมอร์ ออกแบบเว็บไซต์ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และในกรณีของ LaTeX โดยนักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ (สำหรับสูตรที่ซับซ้อนและการอ้างอิงในภาษาหายาก) พวกเขายังมีประโยชน์เมื่อเร็วความเร็วเริ่มต้นครั้งขนาดไฟล์เล็กแก้ไขและเรียบง่ายของการทำงานเป็นรูปแบบที่ต้องการมากกว่าภายหลัง การประกาศเดสก์ทอป โปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะเพื่อให้รูปแบบซับซ้อนสำหรับสิ่งพิมพ์ แต่มักจะให้การสนับสนุนที่ จำกัด เฉพาะสำหรับการแก้ไขโดยปกติโปรแกรม desktop ประกาศอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนำเข้าข้อความที่ถูกเขียนโดยใช้ตัวแก้ไขข้อความหรือคำ processor เกือบทุกโปรแกรมประมวลผลคำให้ผู้ใช้สามารถใช้ลักษณะที่ใช้เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกันโดยอัตโนมัติของร่างกาย text, ชื่อเรื่องคำบรรยายข้อความที่เน้นและอื่นๆแบบง่ายมากการจัดการการจัดรูปแบบของเอกสารขนาดใหญ่ตั้งแต่เปลี่ยนรูปแบบโดยอัตโนมัติการเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อความที่ถูกนำไปใช้ทั้งหมด แม้ในสั้นแบบเอกสารสามารถบันทึกจำนวนมากเวลาในขณะที่การจัดรูปแบบแต่ส่วนใหญ่ไฟล์ช่วยดูลักษณะเป็นคุณลักษณะ'ขั้นสูง'ประมวลผลคำที่มัก discourages ผู้ใช้จากการใช้รูปแบบประจำ

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ


ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

รายชื่อระบบปฏิบัติการ

รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
CP/M
MP/M
TRS-DOS
ProDOS
DOS
Microsoft Windows
Linux
Unix
Mac OS
FreeBSD
OS/2
RISC OS
BeOS
Amiga
Plan9
NetWare
MorphOS
Zaurus
VMS
EPOC
Solaris
IRIX
Darwin
HPUX
UNICOS
MINIX
AIX
Chrome OS
IOS
ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์
นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอ็กซ์ และโซลาริส และรวมถึงลีนุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส
ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ ปาล์มโอเอส หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน