วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์



เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์





โลกเราในปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งก็คือสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล และข่าวสาร และเป็นยุคที่เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความทันสมัย ก้าวหน้าสามารถเชื่อมต่อโลกทั้งโลกได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านเวลา
และระยะทาง
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การทำธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา หรือแม้กระทั่งความบันเทิงต่างๆ สังเกตได้จากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวเราส่วนใหญ่จะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
ในปี 2004 นิตยสาร Business Week ได้ทำการจัดอันดับ 15 สุดยอดแบรนด์ของโลก บริษัทที่ติดอันดับต้นๆ เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าและให้บริการด้านเทคโนโลยีถึง 6 อันดับ ได้แก่ Microsoft, IBM, General Electric, Intel, Nokia และ Hewlett Packard บริษัทเหล่านี้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านั้นด้วย ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Internet, Search Engine, Wireless technology, Multimedia, Broadband, Telecommunications,
Bio Technology ต่างๆ เหล่านี้ได้ปฏิวัติชีวิตและแบบแผนดั้งเดิมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเราจนหมดสิ้น มีสถิติบันทึกไว้ว่านับตั้งแต่ Internet เป็นที่รู้จักของชาวโลกแค่เพียง 4 ปี ก็มีผู้เข้าใช้งาน Internet มากถึง 50 ล้านคนทั่วโลก
เทคโนโลยีนำเราสู่โลกใหม่และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้มนุษย์อย่างมากมายมหาศาล เช่น ในด้านการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ของมนุษย์ขยายขอบเขตไป อย่างมาก เราสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกผ่านสื่อ e-learning แบบ WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ โดยมีผลสำรวจของสำนักวิจัย International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าในทวีปยุโรปความต้องการในการเรียนรู้ผ่าน e-learning จะขยายตัวเป็นสองเท่าในปี 2005 และจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงขึ้น 30% ทุกปีจนถึงปี 2008
ในด้านธุรกิจเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ (Information & Communication Technology หรือ ICT) นับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ จะมีบทบาทหลักในการช่วยจัดเก็บข้อมูล ช่วยในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการสื่อสาร ผ่านทางระบบ Internet, Intranet และ Groupware (โปรแกรมที่ให้บริการ share ข้อมูลร่วมกันระหว่างกลุ่มคน service ที่ให้บริการ เช่น share calendars, email, share database, electronics meeting เป็นต้น)
ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ กว่า 2,000 องค์กรทั่วโลก ต่างก็พยายามเชื่อมต่อเทคโนโลยีและพัฒนาการจัดการข้อมูลสารสนเทศให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบที่เรียกว่า EAI (Enterprise Application Integration) ซึ่งในทางธุรกิจ EAI ช่วยให้องค์กรสามารถคิดค้นโซลูชั่นใหม่ๆ ทางธุรกิจ, สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบซัพพลายเชน, ช่วยปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร, ลดเวลาและลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มผลผลิต, ช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ นอกจากนั้นเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-commerce) ยังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมอีกด้วย
e-commerce สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม e-commerce ใช้งบประมาณในการลงทุนต่ำกว่า, สามารถดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศออสเตรเลีย e-commerce มีอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีการคาดการณ์จากภาครัฐว่า ในปี 2007 ธุรกิจ e-commerce จะช่วยให้ GDP ของประเทศจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 2.7%
ในด้านการวิจัยพัฒนาและการแพทย์ การพัฒนาของเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Technology) เปิดโลกทัศน์ใหม่เกี่ยวกับพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering), Genome, DNA, Nano Technology เพื่อช่วยการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ด้านเกษตรกรรมและดานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ สามารถช่วยให้เราพัฒนาวิธีและยารักษาโรคใหม่ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิจัยชื่อ James Baker ได้ทำการทดลองคิดค้นพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งวิธีใหม่โดยใช้เทคโนโลยี Nanomedicine ซึ่งก็คือการพัฒนาโมเลกุลของยาให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายได้โดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีรักษาที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธีการรักษา โดยใช้เคมีบำบัดในปัจจุบันและเทคโนโลยี Nanomedicine นี้ยังสามารถพัฒนาเพื่อรักษาโรคอื่นๆ ได้ต่อไป
ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งญี่ปุ่นมองว่าเรื่องนี้จะเป็นกลยุทธในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้ใช้งบประมาณในการค้นคว้าวิจัยในด้านนี้สูงถึง 2 ล้านล้านเยน และจะเพิ่มงบประมาณในการค้นคว้าวิจัยให้สูงขึ้นถึง 25 ล้านล้านเยนภายในปี 2010
การมองเห็นโอกาสความร่วมมือหรือความสามารถต่างๆ และมองเห็นช่องทางในการก่อประโยชน์ให้กับองค์กร เป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย ได้มีการร่วมมือด้านการถ่ายโอนความรู้ด้านการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยกันหาแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจโลกใน ยุคโลกาภิวัฒน์ ส่วนในด้านธุรกิจ บริษัท Rolls-Royce ก็ได้มีโครงการรวมมือกันกับกลุ่มบริษัทในประเทศสิงคโปร์เพื่อศึกษาค้นคว้า เรื่องระบบพลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์และโครงการนี้ก็ประสบความสำเร็จได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
การคาดเดาอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ถ้าเรามีการเรียนรู้และมีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของเราเอง สิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ย่อมเป็นไปได้เสมอ ดังคำกล่าวของ Mr. Alan Kay หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีของบริษัท Xerox PARC ที่ได้กล่าวไว้ว่า “หนทางที่ดีที่สุดในการกำหนดอนาคตคือเราจะต้องสร้างมันขึ้นมาเอง”
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดนที่เน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบัน แต่ในอนาคต รัฐบาลควรน่าที่จะกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทั่วประเทศ โดยวางเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศไปตามตำบล หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมอร์ซ (E-Commerce) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) ด้านการแข่งขันธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศ หลังเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก เมื่อปี 2540 และการปฏิรูปทางการเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในยุคประชาธิปไตยเต็มใบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคนไทย มีส่วนร่วมในการจัดทำมากที่สุด และถือว่าเป็น "นวัตกรรมทางการเมือง" ที่ส่งผลให้ภาครัฐได้สร้างนวัตกรรมโทรคมนาคม นั่นคือ มาตรา 40 และมาตรา 335(2) เพื่อปลดแอกระบบการผูกขาด (Monopoly) และเปิดเสรีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม รัฐบาลควรจะวางแผนระยะยาวในการวางเป้าหมาย โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาบริหารพัฒนาระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมใช้ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งในประเทศและภาคพื้นเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม อาทิเช่น ระบบมือถือ ทั้งระบบ 800 900 1800 1900 และอย่างกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ใช้ระบบมือถือ 800 ระบบเดียวกันทั่วประเทศ บริษัทเอกชนที่ผลิตก็สามารถอยู่ได้ เพราะลงทุนครั้งเดียวแต่คุ้มการลงทุน ผลิตเชิงปริมาณแต่จำหน่ายได้ทั้งประเทศ เมื่อคุ้มทุนก็สามารถพัฒนาสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชน เพราะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง เ นื่องจากผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้ทั่วภาคพื้น การใช้เทคโนโลยีระบบเดียวกันในอนาคต ก็จะเป็นการเอื้ออำนวยต่อการสื่อสารและโทรคมนาคมในภาคพื้นเดียวกัน สำหรับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการผ่องถ่ายข้อมูลข่าวสาร และสร้างความยั่งยืนต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายในการสื่อสารด้วยระบบเดียวกันทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างกว้างไกลและยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลควรจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการริเริ่มการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างจริงจังในอนาคต ผลดีที่ตามมา คือ ช่วยให้ประเทศประหยัดเงินที่จะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศ และต้องจ่ายค่าความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ให้ต่างชาติ เช่น ค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค่าเครื่องหมายการค้า คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 20,000 ล้านบาทต่อปี หากเทียบสัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยอยู่ระดับต่ำมาก คิดเป็นอัตราส่วน นักวิจัย 2 คนต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับมาเลเซียที่มีจำนวนนักวิจัย 6 คน ต่อประชากร 10,000 คน เกาหลีใต้อัตราส่วน 27 คนต่อประชากร 10,000 คน สิงคโปร์ 34 คน ต่อประชากร 10,000 คน และไต้หวัน 55 คนต่อประชากร 10,000 คน เมื่อเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศแล้ว สัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ดังนั้น ควรสนับสนุนให้มีนักวิจัยเพิ่มและเน้นพัฒนาการวิจัยระบบโครงข่าย โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อมาถ่ายทอดและนำเสนอต่อสังคม เป้าหมายในระยะสั้น ก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางสื่อสารและโทรคมนาคม ที่เป็นดาวรุ่งของแต่ละประเภท ในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 0.5 เพิ่มจากสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ในแต่ละปี เทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยดังกล่าวของมาเลเซีย ร้อยละ 0.8 สิงคโปร์ สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 1 ไต้หวัน ร้อยละ 1.4 และเกาหลีใต้ร้อยละ 2 ส่วนประเทศอุตสาหกรรม สัดส่วนการใช้จ่ายประมาณร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป้าหมายในอนาคตก็ควรวางเป้าหมายการผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในประเทศ ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนเพิ่มร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ที่ซื้อจากต่างประเทศ และทิศทางอนาคตวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควรใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม ในอนาคต 5 -10 ปีข้างหน้า รัฐบาลควรร่วมมือกับภาคเอกชนวางแผนกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมทั่วประเทศเพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) โดยมีการขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในปี 2543 ยอดขายด้านอี-คอมเมิร์ซจะสูงขึ้น ประมาณ 50,920 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้าอี-คอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น ประมาณ 40 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ทิศทางอนาคตเทคโนโลยีไร้สายมาแรงมาก อาทิเช่น ระบบแว็ป หรือ Wireless Application Protocal (WAP) ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนแบบเดิมที่ติดต่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาติดตัว ซึ่งระบบนี้จะเพิ่มบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค และการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต่อไปประเทศจะเปิดเสรีโทรคมนาคม แนวโน้มราคาของโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรเป็นราคาที่เหมาะสม ทั้งคนรวยและคนจน สามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ระบบที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างโทรคมพื้นฐาน (Basic Telecom) จะประกอบด้วย สื่อสัญญาน เช่น สื่อสัญญาณสายใยแก้ว สื่อสัญญาณไมโครเวฟ สื่อสัญญาณดาวเทียม และ สื่อสัญญาณไร้สาย เป็นต้น ดังนั้น ระบบของการสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะผสมผสานกันทั้ง ไร้สาย (Wirless) มีสาย (Wire) อาทิ เคเบิลใยแก้ว (Optical Cable) และดาวเทียม (Satlellite) เนื่องจากปัจจัยในการใช้ของแต่ละประเภทมีข้อจำกัด ดังนั้น เทคโนโลยีแต่ละประเภทจึงต้องเหมาะสมกับภูมิประเทศและความต้องการของผู้บริโภคด้วย การสื่อสารในอนาคต สื่อสารข้อมูลจะพลิกโฉมเป็น สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) มากขึ้น จะมีการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตจะช่วยมาพัฒนาให้สื่อกลายเป็นสื่อครบวงจร ที่มีทั้งข้อมูลข่าวสาร ภาพ และเสียง สามารถติดต่อกันข้ามประเทศ โดยสะดวกรวดเร็ว แนวโน้มการใช้คลื่นความถี่ ต้องมีการจัดสรรอย่างมีรูปแบบ อาทิ เสาอากาศควรกำหนดว่าครอบคลุมจังหวัดไหนบ้าง เพื่อง่ายต่อการควบคุมระบบ เทคโนโลยีในระยะยาว จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีการวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาทิ เน้นการฝึกอบรมหรือเทรนนิ่งด้านเครือข่าย โปรแกรม อุปกรณ์ ชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น